วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ต้นไม้จริยธรรม

ความเห็นของดิฉัน        ต้นไม้ในเมือง ต่างต้องการดูแลรดน้ำพรวนดิน ยิ่งปลูกอยู่ในบริเวณจำกัด ยิ่งต้องการการดูแลพิเศษยิ่งขึ้น è การที่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่ปลูกอยู่ในป่าคอนกรีต จะสมบูรณ์ได้ด้วยตนเอง คงเป็นไปได้ลำบาก ดังนั้น การมองความสำเร็จของสิ่งใดควรมองให้ครบกระบวนการ (INPUT PROCESS OUTPUT)
        ดิฉันเคยเปรียบว่า นกจะบินสูง มิได้อยู่ที่ปีกแข็งแรงเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยแรงลม และสภาพแวดล้อม
        คุณเคยนึกขอบคุณสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวที่ทำให้วันนี้มีสุข หรือไม่ คุณทำอย่างไรคะ

12 ความคิดเห็น:

  1. ผู้นำที่ดี ควรเป็นผู้มองโลกเชิงบวกและมีจริยธรรม เหตุผลของแต่ละคนต่างกัน จึงไม่สามารถวัดค่าได้ว่าถูกหรือผิด บางครั้งต้องปรับเปลี่ยนตัวตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ดั่งจิ้งจกเปลี่ยนสี เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้เราจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับผู้อื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

    ตอบลบ
  2. ข่าวจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 พ.ย. 2553

    "ผลสำรวจสมาชิกหอการค้าเผยเกือบ80%เคยจ่ายใต้โต๊ะ"

    จากหัวข้อข่าว จะเห็นได้ว่า ในสังคมปัจจุบันปัญหาการจ่ายใต้โต๊ะ
    เป็นปัญหาใหญ่ เมื่อผลประโยชน์มาก่อน ส่งผลเสียต่อสังคมโดยรวม
    เช่น โครงการสร้างอาคารเรียนที่ควรจะมีคุณภาพดี ก็จะมีการลด
    ต้นทุนเพื่อที่จะทำกำไร ส่วนหนึ่งที่จะต้องจ่ายให้กับค่าใช้จ่ายใต้โต๊ะ

    ต้นไม้จริยธรรมเป็นเครื่องเตือนใจ ให้พึงมีสติ ไม่จำเป็นต้องทำ
    ตามคนหมู่มากเสมอไป หากการกระทำนั้น ไม่ถูกต้อง
    กล้าที่จะยืนหยัด และยอมรับผลที่จะตามมา เมื่อตัดสินใจไปแล้ว

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ วันที่ 6 ตุลาคม 2553

    เรื่อง คนดีและคนเก่ง ( จากมุมมองของคุณบุญชัย โชควัฒนา กรรมการอำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด )
    กล่าวไว้ว่า “คนดีต้องมาก่อน นอกจากคนดีที่ฉลาดและเก่งยิ่งดี แต่ผมจะให้ความสำคัญกับคนดีก่อนเสมอ”

    ในความคิดของดิฉันการให้น้ำหนักความสำคัญกับการเป็นคนดีเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจาก คนดีนั้นจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ของตน คนดีจะนำเอาจริยธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต รู้จักผิดชอบชั่วดี การเป็นคนเก่งและคนดีเป็นสิ่งที่สังคมต้องการและสามารถนำมาพัฒนาองค์กรและประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

    ตอบลบ
  5. จรรยาบรรณ คือวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานจริยธรรมซึ่งต้นกำเนิดมาจากความรู้สึกนึกคิดของจิตใจ
    จิตใจของมนุษย์เราจะมีสองฝ่ายเสมอคือ ธรรมะ และ อธรรม
    เราจึงต้องมี จรรยาบรรณเพื่อที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้กับธรรมะ หากเมื่อใดที่จรรยาบรรณอ่อนแรงลง จิตใจก็จะเอนเอียงไปยังฝ่ายอธรรม
    จรรยาบรรณจึงเปรียบเสมือนเชือกที่ใช้ผูกจิตใจไว้กับธรรมะ หากเชือกตึงเกินไปมันก็จะขาด จิตใจที่ไร้ยึดเหนี่ยว ก็จะเอนเข้าหาฝ่ายอธรรม
    แต่หากเชือกหย่อนเกินไป ฝ่ายอธรรมก็จะสามารถดึงเชือกเข้าใกล้ฝ่ายของตัวเองได้ง่าย
    ดังนั้นแล้ว จึงต้องมีการใช้กระบวนการคิดและการใช้ดุลพินิจทางศีลธรรม เพื่อที่จะสามารถนำไปเป็นแนวทางรักษาจรรยาบรรณให้คงอยู่ตลอดไป

    ตอบลบ
  6. ครอบครัว โรงเรียน และสังคมเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ (Data warehouse) ที่มีหนังสือให้เราเลือกอ่านมากมาย เมื่อเราอ่านแล้วเราก็ควรที่จะจัดการกับความรู้ที่ได้อย่างเป็นระบบ (DBMS) เพื่อให้รากของต้นไม้ที่ประกอบด้วยสติปัญญา ประสบการณ์ทางสังคม และสุขภาพจิตมีความแข็งแรง เป็นกลไกที่สามารถยึดลำต้นให้มีความมั่นคงและผลิดอกออกผลเพื่อสังคมส่วนรวมต่อไป นอกจากนั้นเรายังต้องถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้สู่รุ่นลูกหลาน เพื่อให้ประเทศของเราพัฒนาและก้าวหน้าต่อไปเป็นสังคมที่เจริญด้วยปัญญา (ETL Process)

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. ข่าวจาก หนังสือพิมพ์ มติชน
    วันที่ 03 ตุลาคม 2553

    "อึ้ง สหรัฐแฉตำรวจเอฟบีไอกว่า 200 คน แห่โกงข้อสอบหน่วย เผยใช้สารพัดวิธีโกง"

    ตำรวจเอฟบีไอถือว่าเป็นผู้ที่มีการศึกษา เป็นบุคคลที่มีความสามารถและน่าเชื่อถือในสังคม เนื้อข่าวบรรยายถึงสารพัดวิธีโกงของตำรวจเอฟบีไอ ทำให้เห็นว่า "คนเก่ง" ไม่ได้เป็น "คนดี" เสมอไป ต้นไม้จริยะธรรมสอนให้รู้ว่า "คนเก่ง" จำเป็นต้องมาคู่กับ "จริยะธรรม" ผลลัพธ์และวิธีการเป็นของคู่กัน เมื่อทำตามวิธีการที่ถูกแล้วเท่านั้นผลลัพธ์จึงออกมาถูกต้องและดีได้ เปรียบดั่งการจัดการโครงสร้างระบบฐานข้อมูล แม้ว่าจะได้ผลลัพธ์ออกมาใช้เหมือนกัน แต่ถ้าวิธีการไม่ถูกต้องแล้ว ฐานข้อมูลอาจมีความซับซ้อนและไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้


    กัลยา กันทวัน 5320416011

    ตอบลบ
  9. “ ผมได้ปรารภกับเลขาธิการ ก.พ. ก่อนเข้ามาว่า การมาพูดหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของคนดี คนเก่ง เป็นหัวข้อที่ยากที่สุดหัวข้อหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าในวันนี้ ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องตระหนักว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะในแต่ละบ้านเมือง แต่ละสังคมที่สุดแล้วความก้าวหน้า ความเจริญ ความผาสุก จะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะปัจจัยหลัก คือ คน กับ ระบบ.... ความสำเร็จหรือการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้สำหรับองค์กร หรือส่วนรวมก็ดี ลำพังเพียงแต่ระบบไม่สามารถเป็นคำตอบได้ คุณภาพของคนก็เป็นปัจจัย ที่เป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ......"

    ข้อความบางส่วนจาก ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ต้นแบบคนดี คนเก่งที่สังคมต้องการ”
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2552
    ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี

    ที่มา หมายเหตุ ก.พ. ฉบับบที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2553)

    ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว คนเราจะดีได้นั้น ไม่อาจดีได้เพียงตัวเองลำพัง หากแต่ สิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ครอบครัว เพื่อน การศึกษา การอบรม สังคม ล้วนแต่ส่งผลต่อการเป็น "คนดี" ทั้งสิ้น

    ตอบลบ
  10. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  11. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  12. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ